การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ของ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช

การรณรงค์หาเสียงปี พ.ศ. 2543

คณะที่ปรึกษาได้ให้ความเชื่อมั่นกับจอร์จ ดับเบิลยู. บุชว่า ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) จะเป็นปีที่เหมาะสมสำหรับเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี บุชมีเงินเหลือเฟือ และพรรครีพับลิกันก็ขาดผู้สมัครคู่แข่งที่น่ากลัว ก่อนที่บุชจะสมัครเข้าชิงตำแหน่งนั้น ผลการสำรวจหยั่งเสียงระบุอย่างเด่นชัดว่าเขาเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีของบุชในปี พ.ศ. 2543 บุชได้ประกาศตนเป็น "นักการเมืองอนุรักษนิยมที่มีอัธยาศัยดี" ซึ่งเป็นคำที่ถูกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยศาสตราจารย์ มาร์วิน โอลาสกี แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส ในการเลือกตั้งทั่วไป การรณรงค์ทางการเมืองของบุชได้ชูประเด็นสัญญาว่าจะ "ฟื้นฟูเกียรติยศและความภาคภูมิของทำเนียบขาว" และสัญญาว่าจะลดภาษีครั้งใหญ่เพื่อนำเงินส่วนที่เหลือจากการร่างงบประมาณจำนวนมากมาคืนให้แก่ผู้เสียภาษี และในบรรดาประเด็นต่างๆที่ถูกหยิบยกมาหาเสียง เขายังสนับสนุนให้องค์กรทางศาสนามีส่วนร่วมให้การสนับสนุนทางการเงินในโครงการต่างๆของรัฐบาลกลาง อุดหนุนการใช้คูปองเพื่อการศึกษา สนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันในเขตสงวนพันธุ์สัตว์แห่งชาติในแถบอาร์กติก รักษางบดุลของงบประมาณกลางสหรัฐ และปรับโครงสร้างกองทัพสหรัฐ

บุชได้พ่ายแพ้ต่อวุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคน แห่งรัฐอริโซนา ในการสรรหาผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของรัฐนิวแฮมเชียร์ (รัฐแรกที่มีการลงคะแนน) แต่ก็ตีตื้นขึ้นมาชนะ 9 ใน 13 รัฐ จากการลงคะแนน "ซูเปอร์ทิวสเดย์" (การลงคะแนนที่จัดพร้อมๆกันหลายรัฐในวันอังคารต้นเดือนมีนาคม) ซึ่งทำให้เขาได้รับเลือกเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันในที่สุด จากนั้น บุชก็ได้เลือกนายดิก เชนนี อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติของสหรัฐ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐในสมัยที่บิดาของเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ให้เป็นรับตำแหน่งรองประธานาธิบดีหากเขาได้รับเลือก

หลังการรณรงค์หาเสียงเป็นนานเวลาหลายเดือน การเลือกตั้งที่มีขึ้นในคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ได้ให้ผลดีเกินคาด เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ได้รายงานว่าอัล กอร์นำ จากนั้นก็บอกว่าบุชนำ และท้ายสุด บอกว่าสูสีกันมากจนไม่อาจวัดได้ อัล กอร์ ผู้ซึ่งโทรศัพท์ไปหาบุชเพื่ออ้างว่าตนได้รับชัยชนะนั้น ได้โทรไปขอถอนคำพูดภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงต่อมา เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง บุชได้รับการประกาศว่าสามารถเอาชนะอัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐคู่แข่งจากพรรคเดโมแครตไปได้ และได้ไป 271 คะแนน โดยที่กอร์ได้ 266 คะแนน ชนะการเลือกตั้งแบบเอเลคตอรัลโวตใน 30 รัฐ จากทั้งหมด 50 รัฐ กอร์ได้รับการคาดการณ์ว่าจะชนะการลงคะแนนแบบป็อบปูลาร์โวตจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดราว 105,000,000 เสียง โดยที่บุชได้ไป 50,456,002 เสียง (47.9%) และกอร์ได้ 50,999,897 เสียง (48.4 %) แต่คะแนนนี้ก็ไม่อาจเป็นเครื่องตัดสินว่าใครจะครองตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐได้ คะแนนส่วนที่เหลือถูกแบ่งปันกันระหว่างผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอิสระ รวมทั้งนายราล์ฟ เนเดอร์ ผู้สมัครจากพรรคกรีน (2,695,696 คะแนน/2.7%) นายแพต บูชานา จากพรรครีฟอร์ม (449,895 คะแนน/0.4%) และนายแฮร์รี บราวน์เนอร์ จากพรรคลิเบอร์ทาเรียน (386,024 คะแนน/0.4%)

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี พ.ศ. 2543 เป็นครั้งล่าสุดนับตั้งแต่เบนจามิน แฮริสัน ได้เป็นประธานาธิบดี (พ.ศ. 2431) ที่ผู้ชนะไม่ได้รับเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งแบบป็อบปูลาร์โวต ซึ่งมีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่รัทเธอร์ฟอร์ด เฮย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี โดยการตัดสินของศาลฎีกาสหรัฐ การนับคะแนนเสียงในรัฐฟลอริดา ที่เคยให้บุชชนะในการลงคะแนนสรรหาผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ถูกคัดค้านและกล่าวหาว่ามีความผิดปกติในการลงคะแนนและนับคะแนน อาทิเช่น เกิดการสับสนในการลงคะแนน เครื่องลงคะแนนบกพร่อง มีผู้ลงคะแนนปลอมในหมู่ทหาร และการจัดสรรผู้ลงคะแนนแบบผิดกฎหมายจำนวนมากทำให้กระบวนการเป็นไปด้วยความสับสนอลหม่าน

ได้เกิดการฟ้องศาลตามมาหลายครั้งว่าด้วยความชอบธรรมทางกฎหมายในการนับคะแนนซ้ำระดับเคาท์ตี และระดับรัฐ หลังการนับคะแนนซ้ำด้วยมือและด้วยเครื่องในสี่เคาท์ตี และบุชยังอยู่ในศาลฎีการัฐฟลอริดาเพื่อขอให้มีการนับคะแนนใหม่อีกครั้งทั่วทุกเคาท์ตี ศาลฎีกาสหรัฐ ภายใต้การรณรงค์หาเสียง "บุช ปะทะ กอร์" ได้ล้มล้างคำตัดสินและยับยั้งการนับคะแนนที่จะมีขึ้นใหม่ทั้งหมด หลังจากนำอยู่ระยะหนึ่ง กอร์ก็เป็นฝ่ายยอมประนีประนอม หลายเดือนต่อมา การนับคะแนนใหม่ด้วยเมืองทั่วทั้งรัฐฟลอริดาได้สิ้นสุดลงโดยกลุ่มของนักหนังสือพิมพ์ ผลถูกระบุว่าอัล กอร์เอาชนะบุชไปได้ในรัฐฟลอริดาด้วยมาตรฐานสี่แบบ และพ่ายต่อบุชในการนับแบบมาตรฐานอีกสี่แบบ [23][24] ในเมื่อศาลสูงสุดรัฐฟลอริดาไม่ได้กำหนดวิธีการนับคะแนนแบบมาตรฐานในการนับคะแนนใหม่ด้วยมือทั่วทุกเคาท์ตีในรัฐ จึงยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าใครเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในรัฐฟลอริดา หากว่าศาลฎีกาไม่ได้ยับยั้งการนับคะแนน ในการนับคะแนนครั้งสุดท้าย บุชมีชัยในรัฐฟลอริดาด้วยคะแนนเสียงเพียง 537 คะแนน (บุช 2,912,790 คะแนน/กอร์ 2,912,253 คะแนน) [25] ทำให้เขาได้เอเล็คตอรัลโวตจากรัฐนี้ไป 25 แต้ม และได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐในที่สุด บุชเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)

การรณรงค์หาเสียงปี พ.ศ. 2547

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช กล่าวปราศรัยหาเสียงในปีค.ศ. 2004

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) บุชได้รับชัยชนะใน 31 รัฐจากทั้งหมด 50 รัฐ ทำให้ได้คะแนนเอเล็คตอรัลโวตไปทั้งสิ้น 286 คะแนน ผู้ลงคะแนนได้ออกมาเลือกบุชอย่างถล่มทลาย ทำให้เขากลายเป็นประธานาธิบดีที่ได้ป็อบปูลาโวต มากกว่าผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนไหนๆในประวัติศาสตร์ (62,040,610 โวต/50.7 %) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ที่ประธานาธิบดีได้รับเสียงประชานิยมข้างมาก ทางด้านวุฒิสมาชิกจอห์น แครี ผู้สมัครคู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ชนะไป 19 รัฐรวมทั้งในวอชิงตัน ดี.ซี. ทำให้ได้เอเล็คตอรัลโวตไป 251 คะแนน (59,028,111 โวต/48.3 %) โดยที่ผู้ลงคะแนนแบบเอเล็คตอรัลโวตคนหนึ่ง ที่ควรจะลงคะแนนให้จอห์น แครี่ ได้เปลี่ยนใจไปลงคะแนนให้จอห์น เอ็ดเวิร์ด คู่สมัครชิงประธานาธิบดีของแครี่จากพรรคเดโมแครตแทน ทำให้จอห์น เอ็ดเวิร์ด มีเอเล็คตอรัลโวต 1 คะแนน นอกจากนี้แล้วก็ไม่มีผู้สมัครคนไหนได้เอเล็คตอรัลโวตอีก ผู้สมัครที่ไม่ใช่เดโมแครตหรือ รีพับลิกันที่เด่นๆ เป็นต้นว่า ราล์ฟ เนเดอร์ ผู้สมัครอิสระ (463,653 คะแนน/ 0.4 %) และ ไมเคิล แบดแนริก จากพรรคลิเบอร์แทเรียน (397,265 คะแนน/0.3 %) สภาคองเกรสได้เปิดการโต้วาทีเกี่ยวกับความผิดปกติในการลงคะแนนที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งข้อกล่าวหาว่าเกิดความผิดปกติขึ้นที่รัฐโอไฮโอ และการปลอมแปลงเครื่องลงคะแนนอิเล็คทรอนิกส์

บุชได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2548 ผู้เป็นประธานในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งได้แก่ นายวิลเลียม เรนควิสต์ ประธานกรรมการตุลาการสหรัฐในขณะนั้น คำปราศรัยของบุชเน้นไปที่อิสรภาพและประชาธิปไตยที่แผ่ขยายออกไปทั่วโลก

แหล่งที่มา

WikiPedia: จอร์จ ดับเบิลยู. บุช http://wwf.ca/HowYouCanHelp/DoNotDrill/media/anwr_... http://www.americanthinker.com/2004/02/gwb_hbs_mba... http://www.boston.com/news/nation/washington/artic... http://archives.cnn.com/2000/ALLPOLITICS/stories/1... http://archives.cnn.com/2000/HEALTH/08/24/NIH.stem... http://www.cnn.com/2000/ALLPOLITICS/stories/11/02/... http://www.cnn.com/2004/TECH/space/01/14/bush.spac... http://www.cnn.com/2005/POLITICS/05/24/stem.cells/ http://www.cnn.com/2005/POLITICS/11/29/bush.immigr... http://www.cnn.com/ALLPOLITICS/stories/1998/11/03/...